เกี่ยวกับเรา

การวิจัยและพัฒนา (R&D)

การวิจัยและพัฒนา

จากพันธกิจ "มุ่งมั่นสร้างสรรค์วัตกรรมการใช้พลังงานสะอาด" และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่ออนาคตที่ดีกว่า" เดลต้าฯ ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อยอดธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีศักยภาพ เดลต้าฯ ประสบความสำเร็จในการปรับแต่งและการขยายสายผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้กับคุณสมบัติหลักของผลิตภัณฑ์ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น อัตราการจ่ายพลังงานต่อขนาดสูงขึ้น และการใช้ระบบดิจิตอลมาควบคุมการทำงานมากขึ้น

เดลต้าฯ ได้ผนวกความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานเข้าด้วยกันเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชั้นนำของตลาด เดลต้าฯ มีเครือข่ายศูนย์วิจัยและพัฒนาที่ครอบคลุมทั่วทั้งเอเชียและยุโรป และยังได้จับมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกทำโครงการวิจัยเพื่อสร้างเทคโนโลยีที่ทันสมัยและยั่งยืนจำนวนมาก ความร่วมมือดังกล่าวมีส่วนสำคัญอย่างมากในการต่อยอดงานด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของเดลต้าฯ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี

หน่วย 2563 2564 2565 2566 2567
การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ล้านบาท 2,621 3,165 3,742 3,876 3,995

การส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กร

"Transforming Your Creative Concept to Fuel Delta Innovation" เดลต้าฯ เชื่อมั่นว่านวัตกรรมใหม่ๆ อาจเกิดขึ้นได้จากความคิดสร้างสรรค์ของคนในองค์กร การส่งเสริมให้พนักงานได้แสดงงออกซึ่งความคิดอาจทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับองค์กร ที่เดลต้าฯ เราเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงออกทางความคิดผ่านโครงการต่างๆ ดังนี้

รางวัล Delta Innovation Award

กลุ่มบริษัทเดลต้าได้มีการจัดรางวัล Delta Innovation Award เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อกระตุ้นและยกย่องการออกแบบนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพของพนักงานในกลุ่มเเดลต้าทั่วโลก ซึ่งผลงานที่ได้รับคัดเลือกจะถูกนำไปพัฒนานวัตกรรมของบริษัทต่อไป โดยมีการแข่งขันใน 4 ประเภทรางวัลและมีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

  • Intellectual Property (IP): การคิดค้นและ/หรือการสร้างแฟ้มข้อมูล IP คุณภาพสูงที่มีมูลค่าทาางธุรกิจที่ชัดเจน
  • New Product: การพัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีใหม่ หรือสถาปัตยกรรมระบบ หรือเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า
  • Manufacturing: นวัตกรรมด้านการผลิตเพื่อคุณภาพ ผลผลิต และต้นทุนรวมที่ต่ำลง
  • New Business Model / New Business Process: นวัตกรรมในรูปแบบธุรกิจหรือกระบวนการทำงาน เช่น R&D การตลาด การจัดซื้อโลจิสติกส์ และการบูรณาการเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางธุรกิจที่ดีขึ้น

การแข่งขั้น DELTA Production & Technology Innovation Award 2024

การแข่งขัน DELTA Production & Technology Innovation Award 2024 เป็นรางวัลที่มอบให้กับพนักงานที่สร้างสรรค์นวัตกรรมการออกแบบและวิศวกรรมที่โดดเด่นในด้านการผลิตและเทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงคุณภาพได้ทั่วทั้งโรงงาน โดยพิจารณาตัดสินจาก 1 ระดับของนวัตกรรม 2. ประโยชน์จากการใช้งาน และ 3. การลดต้นทุนการผลิต ซึ่งผลงานการออกแบบที่ได้รับการตัดเลือกจะถูกนำมาใช้จริงในสายผลิต

การแข่งขัน DET Productivity Improvement Competition 2024

การแข่งขัน DET Productivity Improvement Competition 2024 จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการพัฒนาสิ่งใหม่ในองค์กรโดยเปิดโอกาสให้พนักงานนำเสนอการออกแบบการพัฒนาการทำงานของเครื่องจักรในสายการผลิต ภายใต้หัวข้อ "การปรับปรุงและพัฒนาผลผลิตเชิงนวัตกรรม" ใน 3 หัวข้อหลักคือ 1. นวัตกรรมด้านการเพิ่มผลผลิต 2 การประยุกต์ใช้ และ 3. ผลประโยชน์ที่ได้ โดยมีพนักงานเข้าร่วมทั้งสิ้น 9 ทีม

การแข่งขัน Simulation Innovation Award

การแข่งขัน Simulation Innovation Project จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ Innovation & Improvement เพื่อเปิดโอากาสให้พนักงานได้แสดงความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ในการพัฒนาเครื่องมือ และเครื่องจักรให้สอดคล้องกับสายการผลิต โดยการเขียน Drawing นำเสนอผลงาน ซึ่งผลงานการออกแบบที่ได้รับการคัดเลือกจะถูกนำมาใช้จริงในการสายการผลิต

นวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ขับเคลื่อนโครงการฟื้นฟูปะการังแห่งชาติของสิงคโปร์ ผ่านนวัตกรรมระบบอัตโนมัติของเดลต้า

เดลต้าฯ ผนึกกำลังความเชี่ยวชาญด้านระบบพลังงานอัจฉริยะประหยัดพลังงาน ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม และโซลูชันอาคาร เพื่อร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติสิงคโปร์ (NParks) รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยด้านการฟื้นฟูปะการังจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ณ ห้องปฏิบัติการทางทะเลแห่งชาติ เกาะเซนต์จอห์น (SJINML) เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางเทคนิคในการฟื้นฟูปะการังในระดับใหญ่ และเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้กับแนววปะการังของสิงคโปร์ในอนาคตอย่างยั่งยืน โดยได้นำความเชี่ยวชาญด้านระบบอัตโนมัติและโซลูชันวิศกรรมขั้นสูงของเดลต้าเข้ามาประยุกต์ใช้ในศูนย์เพาะเลี้ยงปะการังแห่งใหม่ภายใน Marine Park Outreach and Education Centre บนเกาะเซนต์จอห์นโดยมีเป้าหมายในการเพาะเลี้ยงปะการังให้ได้ถึง 10,000 ชิ้นต่อปีตลอดระยะเวลา 10 ปี และในอนาคตต่อไป ระบบ Smart Coral Aquaculture System ของงเดลต้า นำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจิรญเติบโตของปะการังในถังเพาะเลี้ยงน้ำทะเลบนบก เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมทางทะเลจริง ทำให้มั่นใจได้ว่าปะการังจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรงในระยะยาว

ร่วมมือกับออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ในการจัดหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์อัจฉริยะและมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เดลต้าประเทศไทย ร่วมมือกับบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ในการจัดหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของออริจิ้น โดนการนำโซลูชันเพื่อบ้านอัจฉริยะและอาคารสีเขียวที่หลากหลายของเดลต้าไปใช้ในโครงการ ซึ่งจะช่วยให้ออริจิ้นสามารถมอบประสบการณ์การอยู่อาศัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมดีต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า ซึ่งสอดคล้องไปกับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ โดยโซลูชันการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารของเดลต้าสามารถช่วยแก้ไขปัญหาใหญ่อย่างมลพิษทางอากาศ PM2.5 ในประเทศไทย พร้อมช่วยส่งเสริมสุขภาพและการเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้

ความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย (Delta Automation Academy Project)

เดลต้าประเทศไทย ได้ลงทุนจัดตั้งห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เพื่อให้นักศึกษาจาก 7 สถาบันชั้นนำได้รับประโยชน์จากห้องปฏิบัติการดังกล่าวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยห้องปฏิบัติการดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อให้นักศึกษาใช้งานและเข้าถึงประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงในการทำงานด้านพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบอัตโนมัติ และทักษะเทคโยโลยีขั้นสูง

นับตั้งแต่ปี 2558 บัณฑิตจบใหม่ที่เคยผ่านการเข้าร่วม Delta Automation Academy ราวร้อยละ 30-50 ได้รับข้อเสนอให้เข้าทำงานที่เดลต้า ส่งผลให้มีการรับพนักงานใหม่ประมาณ 150 คนต่อปี บัณฑิตเหล่านี้ล้วนได้รับทักษะที่เหนือชั้นและมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรม

ในอนาคต เดลต้าประเทศไทย ยังคงเดินหน้าผลักดันนวัตกรรมผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยห้องปฏิบัติการพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ ที่กำลังดำเนินการจัดตั้งที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยมหิดล ตอกย้ำความเป็นผู้นำของเดลต้าในด้านการพัฒนาบุคคลกรที่มีศักยภาพสำหรับภาคส่วนที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีของประเทศไทยที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

เดลต้าฯ ไม่หยุดที่จะให้บริการนวัตกรรมชั้นนำแก่ลูกค้า ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมระดับโลก และเป้าหมาย RE100 ในการผลิตพลังงานทดแทนร้อยละ 100 จากการดำเนินงานทั่วโลกภายในปี 2573 ความมุ่งมั่นนี้จะช่วยให้บริษัทฯบรรลุพันธกิจของบริษัทฯ: Smarter. Greener. Together.