ข่าวสารและกิจกรรม
Blog & eBook

นิยามใหม่ของบทบาทฝ่ายทรัพยากรบุคคลของเดลต้า ประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 21 สิงหาคม 2563 – กว่า 30 ปี ที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ของเดลต้า อิเลคโทรนิคส์ประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในการดึงดูดและพัฒนาพนักงานไทยและต่างชาติที่มีความสามารถมากมายให้มาทำงานร่วมกันเพื่อพันธกิจของเราในการมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้พลังงานสะอาดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

เดลต้าได้นำผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลรุ่นใหม่ที่มีภูมิหลังและทักษะที่หลากหลายมาเพื่อตอบสนองความต้องการของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง วันนี้เราจะได้พบกับสองมืออาชีพรุ่นใหม่ ธนภัทร มังกรประเสริฐ และ ชนกชนม์ มีบุญกุล (ซ้ายไปขวาในภาพด้านบน) ซึ่งจะมาแบ่งปันประสบการณ์การเตรียมความพร้อม มุมมองเกี่ยวกับบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของ HR และวิธีที่พวกเขาเพิ่มพูนศักยภาพพนักงานและสร้างมูลค่าที่มากขึ้นให้กับเดลต้า

คุณช่วยเล่าถึงประวัติการศึกษาและประสบการณ์การทำงานของคุณในเราฟังหน่อย?

ชนกชนม์ มีบุญกุล: ฉันจบการศึกษาจากสาขาแนะแนวการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรจน์ เคยฝึกงานด้านการสอนที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งเป็นเวลาหนึ่งปี หลังจากฝึกงานฉันได้เริ่มทำงานด้านทรัพยากรบุคคล (HR) มาเป็นเวลาหกปีแล้ว โดยมีความเชี่ยวชาญในด้านการฝึกอบรมองค์กร

ธนภัทร มังกรประเสริฐ: ผมจบการศึกษาจากสาขารัสเซียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาชีพแรกของผมคือการขายโฆษณาออนไลน์ หลังจากนั้นหนึ่งปีผมก็เปลี่ยนมาทำในฝ่ายทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผมจึงได้ทำงานด้าน Compensation & Benefits ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์และโรงแรม ก่อนที่จะมาทำงานกับเดลต้า

คุณทำงานกับเดลต้ามานานเท่าไหร่และหน้าที่ของคุณคืออะไร?

ชนกชนม์ มีบุญกุล: ฉันเริ่มทำงานที่เดลต้าตอนเดือนเมษายน 2563 หน้าที่ของฉันคือวางแผนและจัดเตรียมโปรแกรมการเรียนรู้และการพัฒนาสำหรับผู้จัดการของเดลต้า ซึ่งรวมถึงแพลตฟอร์ม e-learning ในหลักสูตรพื้นฐานด้านการจัดการทั่วไป นอกจากนี้ฉันยังมีส่วมร่วมในโครงการพัฒนาความสามารถผู้มีศักยภาพสูงโดยการระบุผู้มีศักยภาพสูงภายในองค์กร

ธนภัทร มังกรประเสริฐ: ผมก็เข้ามาทำงานที่เดลต้าในเดือนเมษายนเหมือนกัน หน้าที่ของผมคือดูแลค่าตอบแทนและสวัสดิการของพนักงานเดลต้าประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หน้าที่รับผิดชอบของผมคือการออกแบบ ตรวจสอบและนำแผนค่าตอบแทนและสวัสดิการมาใช้ รวมถึงการเปรียบเทียบโครงสร้างการจ่ายเงินเดือนเทียบกับตลาด การควบคุมต้นทุนแรงงาน และทำให้มั่นใจว่านโยบาย กระบวนการ และแผนค่าตอบแทนละสวัสดิการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและวิสัยทัศน์ของฝ่ายทรัพยากรบุคคล

ทำไมคุณถึงเลือกมาทำงานกับเดลต้า?

ชนกชนม์ มีบุญกุล: ก่อนอื่นฉันรู้จักเดลต้าอยู่แล้วเพราะฉันโตที่บางปู ตอนที่เดลต้าเสนอตำแหน่งให้ ฉันได้ปรึกษาพ่อแม่และพวกท่านก็ให้การสนับสนุน นอกจากนี้ฉันยังได้หาข้อมูลเพิ่มเติมและพบว่าเดลต้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่และยังเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตัวเองในขณะที่ทำงานในบริษัทระหว่างประเทศ

ธนภัทร มังกรประเสริฐ: ผมไม่เคยรู้จักเดลต้ามาก่อน แต่ตอนที่เจ้าหน้าที่จัดหางานเรียกผม ผมก็ได้หาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทและพบข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม การพัฒนาที่ยั่งยืน และการดำเนินการในระดับสากลของเดลต้า นั่นทำให้ผมรู้สึกว่ามันจะเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผมในการทำงานที่นี่เพราะเดลต้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีสาขามากมายทั่วโลก

คุณมีการปรับตัวในการมาทำงานที่เดลต้าอย่างไร?

ธนภัทร มังกรประเสริฐ: สำหรับผม ผมเข้าใจว่าตัวผมเองต้องปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในการทำงานใหม่เมื่อผมย้ายงาน แต่การปรับตัวเองง่ายขึ้นเมื่อเจอกับเพื่อนร่วมงานใหม่ของผมใจดีและเป็นมิตรมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้างานและผู้จัดการ พวกเขารับฟังเราและหากมีบางสิ่งที่เราต้องการทำให้ดีขึ้นเราก็จะพยายามปรับปรุงมัน

ผมยังมีโอกาสได้พบกับประธานและพบว่าเขาเป็นคนที่ใจดี รับฟังพนักงานรุ่นใหม่และนำไปปรับใช้ ดังนั้นผมจึงรู้สึกดีและทำให้การปรับตัวในด้านการมาทำงานที่เดลต้าง่ายขึ้นเยอะ

ชนกชนม์ มีบุญกุล: ในวันแรกผู้จัดการของฉันได้แนะนำบริษัท ทีมงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล และแผนกที่เกี่ยวข้อง ฉันเริ่มเรียนรู้จากรุ่นพี่และศึกษาข้อมูลพื้นฐานผ่านโปรแกรม e-Learning ผู้จัดการช่วยฉันได้มากในการให้คำแนะนำและเป็นคนสอนเกี่ยวกับวิธีการติดต่อพนักงานภายในบริษัทในการทำงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลของเรา

ฉันรู้สึกว่าฉันได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทุกวันและภาษาอังกฤษของฉันก็พัฒนาขึ้นเพราะตอนที่อยู่บริษัทเก่าฉันไม่ได้พูดภาษาอังกฤษมากเท่ากับอยู่ที่นี่ ที่เดลต้าฉันคุยกับเพื่อนร่วมงานที่ไม่ใช่คนไทยทุกวันและฉันรู้สึกก็ว่าผู้จัดการที่เดลต้ารับฟังความคิดเห็นและเอาใจใส่ฉัน

คุณจะอธิบายบทบาทของฝ่ายทรัพยากรบุคคลในองค์กรว่าอย่างไรและอะไรคือกุญแจสำคัญในการเพิ่มคุณค่า?

ชนกชนม์ มีบุญกุล: ในมุมมองของฉันฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีบทบาทสำคัญในการช่วยบริษัทในการจัดสรรสวัสดิการและการจ่ายเงินเดือน เดลต้า ประเทศไทย เป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีพนักงานมากกว่า 10,000 คน ดังนั้นเราจึงมีความรับผิดชอบอย่างยิ่งในการตรวจสอบว่าข้อมูลทั้งหมดของเราถูกต้องและนำไปใช้อย่างตรงเวลาเพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคน

ในบริษัทที่ฉันเคยทำงาน เรามีกลยุทธ์และกิจกรรมมากมายสำหรับพนักงานสัมพันธ์ และฉันวางแผนในการเพิ่มมูลค่าด้วยประสบการณ์และการเปิดตัวกิจกรรมใหม่ ๆ ตัวอย่างเช่น ในปีหน้าฉันวางแผนที่จะเริ่มกิจกรรมการเรียนภาษา เพราะหลายคนมองว่าการฝึกอบรมเป็นกิจกรรมที่น่าเบื่อและไม่ชอบการนั่งอยู่ในห้องเพื่อฟังการบรรยายทั้งวัน ดังนั้นฉันจะพยายามทำกิจกรรมที่สนุกและมีส่วนร่วมมากขึ้น

ธนภัทร มังกรประเสริฐ: ในความคิดของผมบทบาทของฝ่ายทรัพยากรบุคคลในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงเพื่อรักษาชีวิตการทำงานของเราเหมือนในอดีต แต่เราจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในทุก ๆ ด้านของบริษัท เพื่อเปลี่ยนตัวเองให้เป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจและตอบสนองต่อกลยุทธ์ขององค์กร

ขณะนี้โลกกำลังเปลี่ยนไปด้วยเทคโนโลยี IoT และ AI ผมเชื่อว่าฝ่ายทรัพยากรบุคคลของเราสามารถที่จะนำมันมาใช้ในงานของเราได้ อย่างเช่น การช่วยให้เราค้นหาผู้สมัครที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับความต้องการของเรา การรักษาพนักงานไว้ให้นานที่สุดด้วยการวิเคราะห์ความต้องการของพนักงานเพื่อที่จะลดอัตราการลาออกและเพิ่มผลิตภาพ

คุณคิดว่าอะไรคือคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดที่ HR มืออาชีพต้องมี?

ชนกชนม์ มีบุญกุล: สำหรับฉันความเห็นอกเห็นใจเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคลเพราะเราทำงานกับคน ดังนั้นเราจึงต้องเข้าใจพวกเขาอย่างลึกซึ้งและรับฟังสิ่งที่พวกเขาต้องการที่จะสื่อสารกับเรา HR มืออาชีพต้องเป็นเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

ตัวอย่างเช่น ถ้าพนักงานต้องการเงินเดือนมากขึ้น เราต้องเข้าใจก่อนว่าทำไมพวกเขาถึงต้องการสิ่งนี้ จากนั้นในฐานะตัวแทนบริษัทเราต้องคิดว่าสิ่งนี้ส่งผลต่อธุรกิจของเราอย่างไร ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรเราจำเป็นต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าบริษัทสามารถทำอะไรได้หรือทำอะไรไม่ได้ และในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเราต้องหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ และเพิ่มระดับของการมีส่วนร่วมของพนักงานในบริษัท

ธนภัทร มังกรประเสริฐ: สิ่งแรกที่ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลต้องได้รับคือความไว้วางใจ เนื่องจากเราเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานทุกคนได้ ทำให้เราไม่สามารถพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดเหล่านี้แม้กระทั้งกับเพื่อนร่วมงานของเราเองก็ตามเพราะเราไม่สามารถละเมิดข้อมูลของพนักงานได้

คุณสมบัติที่สองที่ต้องมีคือมีความใฝ่รู้อยู่เสมอ เพราะโลกของเราเปลี่ยนแปลงเร็วมากและ HR ก็ต้องก้าวตามให้ทันเช่นกัน หากเราไม่สามารถปรับตัวในอัตราเดียวกันได้ เราก็จะไม่สามารถพัฒนาตัวเองหรือเพื่อนร่วมงานได้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลไม่เพียงแต่ให้บริการ แต่ยังให้ความรู้และข้อมูลที่สามารถแปลงเป็นคุณค่าที่จับต้องได้ของบริษัท

มีอะไรอยากแนะนำคนที่อยากจะเข้ามาทำงานกับเดลต้าไหม?

ชนกชนม์ มีบุญกุล: ต้องชินกับการเข้านอนเร็วเพราะที่เดลต้าเริ่มงานเวลา 7.40 น. เลิกงานตอน 17:25 น. และเราได้หยุดทั้งวันเสาร์และวันอาทิตย์ ซึ่งค่อนข้างดีสำหรับผู้ผลิตในประเทศไทย หากคุณเป็นพนักงานใหม่ฉันหวังว่าคุณจะสามารถซื่อสัตย์กับตัวเองและไม่กลัวที่จะลองใช้แนวคิดใหม่ ๆ ปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ในบริษัทและเติบโตไปพร้อมกันกับเรา

ธนภัทร มังกรประเสริฐ: แค่เป็นตัวเอง ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของคนรุ่นใหม่ที่เดลต้า เรามีโอกาสมากมายไม่เพียงแต่ในประเทศไทยแต่รวมถึงในต่างประเทศ ที่เดลต้าเราสามารถทำงานร่วมกับคนจากไต้หวัน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ อินเดีย และอื่นๆ ถึงผมทำงานที่นี่ได้เพียงสี่เดือน แต่ผมก็ได้รับหน้าที่ให้จัดการโครงการใหญ่มากมาย ดังนั้นสำหรับผู้เริ่มต้นในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ผมรู้สึกว่านี่เป็นโอกาสที่ดีที่จะเติบโต ขอแค่เปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงและสนุกไปกับความท้าทายใหม่ ๆ

คุณเป็นนักศึกษา บัณฑิต หรือมืออาชีพที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของคนรุ่นใหม่ในบริษัทระดับนานาชาติหรือไม่? ติดต่อมาหาเราวันนี้เพื่อหาคำตอบว่าเราทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรที่ Delta Thailand Careers Page!


28 ส.ค. 2563