ข่าวสารและกิจกรรม
ข่าวสินค้าและบริการ

วิกฤติโควิด-19 ตอกย้ำความต้องการของประเทศไทยความพร้อมของธุรกิจในส่วนโซลูชันดาต้าเซ็นเตอร์ โลกยุคดิจิทัล

ในยุคดิจิทัลนี้ ดาต้าเซ็นเตอร์หรือศูนย์ข้อมูลมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการติดตามข่าวสาร ส่งอีเมล ซื้อสินค้าออนไลน์ ชำระเงิน ติดตามสถานะการจัดส่ง หรือการทำงานไกลที่บ้าน และการเชื่อมต่อของดาต้าเซ็นเตอร์จำนวนมากทั่วโลกเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เราเห็นความสำคัญของดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้นเมื่อมีปริมาณข้อมูลดิจิทัลหลั่งไหลอย่างมหาศาลในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวมาทำงานจากทางไกล ร้านค้าออนไลน์กลายเป็นช่องทางหาซื้อสิ่งจำเป็น และการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ทางสังคมได้ผันเปลี่ยนเป็นสู่ออนไลน์ทั้งหมด

ด้วยความต้องการใช้งาน ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นของผู้บริโภค ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่แข็งแกร่ง และนโยบายประเทศไทย 4.0 เดลต้า อีเลคโทรนิคส์เชื่อมั่นอย่างยิ่งในศักยภาพของประเทศไทยในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านดาต้าเซ็นเตอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความต้องการด้านการจัดเก็บและข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้ใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ต่อประชากร (Mobile penetration rate) สูงถึง 134 เปอร์เซ็นต์ และชาวไทยกว่า 52 ล้านคนใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่บนโลกออนไลน์นานถึง 9 ชั่วโมงต่อวันและเนื่องจากสถานการณ์วิกฤติทางสาธารณสุข ยิ่งทำให้คนใช้งานออนไลน์เพิ่มมากขึ้นและนานขึ้น

จากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Google ประจำปี 2562 พบว่าเศรษฐกิจบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 5 แสนล้านบาท (16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และคาดการณ์ว่าจะโตขึ้นสามเท่าภายในปี 2568 มากกว่า 1.5 ล้านล้านบาท (50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ซึ่งเป็นกลไกหลักของเศรษฐกิจดิจิทัล และจากความต้องการที่สูงขึ้นทำให้ผู้บริหารต่างก็ตระหนักถึงความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่เชื่อถือได้ มีความยืดหยุ่น และปลอดภัยสูงเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

ในภาวะการเติบโตปัจจุบันนี้ เราคาดการณ์ว่าจะเห็นการพัฒนาด้านดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ของภาครัฐอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย รวมถึงการลงทุนในระบบคลาวด์ของภาคเอกชน และธุรกิจการเช่าพื้นที่วางเซิร์ฟเวอร์ ศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ผู้ให้บริการประเภท Colocation โดยในชั่วโมงนี้ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจธนาคาร โทรคมนาคม และอีคอมเมิร์ซช่วยสร้างมูลค่าและโอกาสใหม่ๆ ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างมาก

การยกระดับไฮบริดดาต้าเซ็นเตอร์ เทคโนโลยีใหม่ที่ผสานระบบคลาวด์และไอทีขององค์กรเข้าด้วยกัน

หลายปีที่ผ่านมา เราเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากเดิม บริษัทที่บริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์องค์กรด้วยตัวเอง ไปสู่การจ้างผู้ดูแลระบบศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ร่วมกันแบบ Colocation เพิ่มมากขึ้น บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่และผู้ให้บริการระบบคลาวด์ระดับโลกล้วนปรับเปลี่ยนจากการลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ของตัวเอง มาสู่ผู้ให้บริการอิสระด้านศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์แบบเช่าพื้นที่ Colocation หรือ Managed Services มากยิ่งขึ้น เพื่อรับมือกับการบริหารจัดการและประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังประหยัดต้นทุน สร้างกำไรสูงสุด
 
เห็นได้ว่าความต้องการด้านปริมาณและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลคือสองปัจจัยหลักที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ไปสู่แบบไฮบริดมากขึ้น ซึ่งจะรวมเอาข้อดีและข้อเสียของทั้งระบบคลาวด์และระบบเซิร์ฟเวอร์ในองค์กรเข้าด้วยกัน โดยดาต้าเซ็นเตอร์แบบไฮบริดนี้สามารถเก็บและประมวลผลข้อมูลสำคัญที่เป็นความลับของธุรกิจไว้ที่ตัวศูนย์ข้อมูลเอง และจัดเก็บหรือประมวลผลข้อมูลมัลติคลาวด์ได้ ทิศทางการพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์จึงเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบของศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กพร้อมใช้งานที่ตั้งอยู่ในหลายสถานที่มากยิ่งขึ้น มากกว่าจะเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียว ซึ่งวิธีนี้ยังช่วยให้ธุรกิจเพิ่มความยืดหยุ่น ลดต้นทุน และรักษาความสามารถในการแข่งขันได้

ในขณะที่โลกที่ต้องเผชิญกับวิกฤติเช่นการระบาดใหญ่ของโควิด-19 โซลูชันดาต้าเซ็นเตอร์พร้อมใช้งานและบริการครบวงจรจากซัพพลายเออร์มืออาชีพ คือ กุญแจสำคัญที่สามารถช่วยผู้ปฏิบัติงานให้พร้อมวางแผนตั้งรับจัดการกับภาวะวิกฤติได้ดีขึ้น วิกฤติครั้งนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ธุรกิจจะได้พิสูจน์และทบทวนความพร้อมของระบบ Mission-critical ต่อสถานการณ์ และสร้างแผนสำรองฉุกเฉินด้านดาต้าเซ็นเตอร์ได้

5G, อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง และการประมวลผลคอมพิวติ้ง (Edge computing) สร้างผู้เล่นใหม่ในอุตสาหกรรม

การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 5G ในประเทศไทยมีนัยยะมากกว่าการส่งรับข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น แต่หมายถึงการเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ยานพาหนะขับเคลื่อนเองได้ เมืองและที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ ตลอดจนระบบอัตโนมัติในบ้านและโรงงานอุตสาหกรรม
 
แพลตฟอร์มอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะจำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยี 5G ในการประสานและประมวลผล (Edge computing) เพื่อประมวลผลข้อมูลที่รวบรวมจากเครื่องมือต่างๆหรือเซ็นเซอร์ ระหว่างการผลิตได้แบบเรียลไทม์ และใช้บิ๊กดาต้าช่วยในกระบวนการตัดสินใจเพื่อสั่งการจากห้องควบคุม และเพื่อให้การประมวลผล Edge computing ใช้ได้แบบเรียลไทม์ด้วยเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะมาถึง ผู้ประกอบการโรงงานควรพิจารณาห้องดาต้าเซ็นเตอร์แบบพร้อมติดตั้งและใช้งาน (Prefabricated) เนื่องจากสะดวกรวดเร็วและยืดหยุ่น เพิ่มความสามารถได้ตามความต้องการใช้งานในภายหลัง

นอกจากนี้ IoT จะเข้ามากระตุ้นให้เกิดดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งขนาดเล็กและผู้ให้บริการแบบเช่าพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ Colocation รายใหม่มากมาย แทนที่ความจำเป็นของดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่เช่นในอดีต คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2566 อุปกรณ์ IoT จะแพร่หลายไปทุกหนแห่งจนกลายเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และคาดว่าในปี 2564 ครึ่งหนึ่งของการประมวลผลข้อมูลทั้งหมดจะประมวลผลองค์กรภายนอกศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์

โอกาสทางธุรกิจของดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศสิงคโปร์ได้รับยกย่องในความโดดเด่นของอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ ด้วยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แหล่งจ่ายพลังงานที่น่าเชื่อถือ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ตามรัฐบาลสิงคโปร์ได้หยุดออกใบอนุญาตดาต้าเซ็นเตอร์แล้ว เนื่องจากมีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่ๆ

ถัดจากประเทศสิงคโปร์ อีกหนึ่งประเทศที่มีความโดดเด่นอย่างมากคือประเทศไทย เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคซึ่งเอื้ออำนวยต่อการขยายโอกาสเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และมีเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีนโยบายดึงดูดการลงทุนมากมาย อยู่ใกล้กับเคเบิลใต้น้ำไม่เกิน 30 กิโลเมตร และอยู่เหนือระดับน้ำทะเลมากกว่า 100 เมตรเพื่อป้องกันภัยน้ำท่วม

โดยรวมแล้วผมมองว่าดาต้าเซ็นเตอร์ประเภทพร้อมติดตั้งใช้งาน (Prefabricated) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเร่งการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยในเร็ววันนี้ เดลต้ามีโซลูชันด้านดาต้าเซ็นเตอร์มากมายทั้งระบบสำรองไฟฟ้า (UPS) ที่รองรับการเก็บสำรองไฟได้ทุกขนาด ระบบ Precision cooling ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งในอาคารและกลางแจ้ง ระบบตู้แรค และซอฟต์แวร์การจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ โดยนอกจากจะออกแบบตามพื้นที่ใช้งานพร้อมบริการติดตั้งและให้บริการหลังการขายแล้ว เดลต้ายังให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ซึ่งตอบโจทย์ด้านมาตรฐาน ประสิทธิภาพสูง และที่เจ้าของสามารถออกแบบต้นทุนเองได้ (Total Cost of Ownership) โดยได้รับผลประโยชน์สูงสุด

ความต้องการด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้นในไทยและภูมิภาคอาเซียนเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ดิจิทัล การเข้าสู่ยุค IoT และนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ เหล่านี้ล้วนทำให้เราเล็งเห็นโอกาสอันน่าสนใจในธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ในไทย


30 เม.ย. 2563